ตะกรุดสูรย์จันทร์

ตะกรุดสูรย์จันทร์

ตะกรุดสูรย์จันทร์ หนุนดวง ปกป้องคุ้มครอง สำเร็จทุกประการ

ตะกรุด “สูรย์จันทร์” จารมือทุกดอกด้วยยันต์อุณาโลม สุรัยันต์ จันทรา โดยมีแก้วสามประการคือมะ อะ อุ หนุนเนื่องอยู่ ช่วยเกื้อหนุนไม่ให้ตกต่ำ ปกป้องคุ้มครองทั้งกลางวันกลางคืน หนุนให้สำเร็จลุล่วง และมีแม่ธาตุ นะ มะ พะ ทะ (ดิน น้ำ ไฟ ลม) หมุนวนล้อมรอบทำให้โชคลาภไม่ขาดสาย อีกทั้งช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย เดินทางไปไหนใกล้ไกลมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง

ขนาดตะกรุดยาวประมาณ ๑ นิ้ว เพื่อให้สามารถพกพาได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งผู้ชายและผู้หญิง สร้างไม่ถึง ๑๐๐ ดอก ปลุกเสกโดย ๓ เจ้าคุณ และอีก ๘ ประเกจิพร้อมกับพระกริ่งและเหรียญ

รายนามพระเกจิผู้อธิษฐานจิต ท่านเจ้าคุณไพรินทร์ (เจ้าพิธี), ท่านเจ้าคุณพระสุธรรมมุนี (รก.วัดใหญ่), ท่านเจ้าคุณวัดเจดีย์ยอดทอง, หลวงพ่อชนะ วัดบึงพระ, หลวงพ่อแดง วัดบางทราย, หลวงพ่อชาญ วัดถ้ำพระธรรมาสน์, หลวงพ่อสมปอง วัดวังตาบัว, หลวงพ่อฉลวย วัดเมมสุวรรณาราม, หลวงพ่อชุบ วัดนางพญา, พระครูธรรมธรสุบรรณ ดร. โดยในพิธีได้มีพระผู้ใหญ่กล่าวว่ามีคณาจารย์ท่านอื่นมาร่วมเสกด้วยจึงให้ตั้งธรรมาสน์เพิ่มอีกหลังหนึ่งและมีครูถ่ายรูปไม่ติด

หลวงพ่อชนะ วัดบึงพระ ให้ความเมตตาในการจัดสร้างวัตถุมงคล

ในการจัดสร้างวัตถุมงคลแต่ละครั้ง ผู้จัดสร้างจะต้องประกอบด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ และจัดเตรียมเนื้อหามวลสารก่อนประกอบพิธี

โรงเรียนจ่าการบุญได้จัดทำวัตถุมงคลที่ระลึก 123 ปี จ่าการบุญ เพื่อนำเงินที่หักค่าใช้จ่ายไปจัดหาเครื่องดนตรีแทนที่อันที่เสียหายจากเหตุการณ์ไฟไหม้

หนึ่งในพระเกจิพิษณุโลกที่ได้เมตตากับทางโรงเรียนจ่าการบุญคือ หลวงพ่อชนะ วัดบึงพระ จ.พิษณุโลก ซึ่งท่านได้จารแผ่นยันต์มวลสารถึงสองวาระ มีการอธิษฐานจิตอย่างเข้าขลัง ถือเป็นวัตถุมงคลนอกวัดที่ผู้ศรัทธาในองค์หลวงพ่อชนะต้องไม่พลาด เพราะได้ของดีที่ครูบาอาจารย์เสกเต็มกำลังและได้ร่วมบุญสร้างปัญญาบารมีอีกด้วย

ในวันพุทธาภิเษกท่านได้เมตตามาที่มณฑลพิธีเพื่อเทหล่อพระกริ่ง ซึ่งท่านได้จารอักขระลงในแผ่นทองคำแท้เพื่อนำไปหลอมพระกริ่ง และพิธีพุทธาภิเษกในช่วงบ่าย

นับเป็นวัตถุมงคลของผู้ที่ศรัทธาในหลววพ่อชนะ วัดบึงพระ พลาดไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง

บารมีพ่อจ่าการบุญปกป้อง

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ครูแชมป์ได้นำคณะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมไปทัศนศึกษาณสวนสนุกดรีมเวิลด์ จังหวัดปทุมธานี ทุกอย่างดำเนินไปด้วยดีไม่มีเหตุการณ์ใดๆต้องน่ากังวล

ไปตอนเย็นได้แวะพักไปหาที่ร้านยุ้งข้าว หลังจากนั้นได้เดินทางยาวมาจนกระทั่งเข้าใกล้เขตจังหวัดพิจิตร ทางคณะทัศนศึกษาได้จอดพักเข้าห้องน้ำที่ปั๊มแห่งหนึ่ง และเมื่อถึงกำหนดเวลาก็จะเดินทางออกจากปั๊มแต่ปรากฏว่ารถสามารถสตาร์ทติดได้แต่มีเหตุบางอย่างทำให้รถไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ผู้จัดการจึงได้ตัดสินใจเปลี่ยนที่นั่งให้กับเด็กและคณะครูรถคันดังกล่าวทันที ด้วยความเชื่อส่วนบุคคลเชื่อว่า หากยังดึงดันใช้รถคันดังกล่าวอยู่อาจเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นได้ เพราะหลังจากนั้นประมาณ 10 นาทีรถก็สามารถสตาร์ทติดและเคลื่อนที่ทุกอย่างได้ตามปกติแตกต่างจากรถตู้อย่างสิ้นเชิง

เรื่องนี้ในส่วนตัวก็เชื่อว่าเป็นประเทศไหนของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายและหนึ่งในนั้นที่ได้อาราธนาไปด้วยคือพ่อจ่าการบุญ สร้างความปิติและความอุ่นใจยิ่งนัก

ประสบการณ์การด้านโชคลาภของครูอังคนา

ประสบการณ์ด้านโชคลาภของครูอังคนา คุ้มมี

วันนี้ได้รับการบอกเล่าประสบการณ์ของครูอังคนา คุ้มมี โดยท่านได้บอกเล่าว่าหลักจากที่ไม่เคยซื้อลอตเตอรี่มาหลายปี รวมถึงก็หน้านั้นก็ไม่เคยถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลมาประมาณ 12 ปี แล้ว ในงวดที่ผ่านมาด้วยความที่อยากลองซื้อหลังจากที่ได้รับเหรียญจ่าการบุญและพระกริ่งจ่าการบุญจึงได้ลองซื้อมาเพียง 1 ใบ เพื่อลองอธิษฐานดูปรากฏว่าถูกรางวัลเลขท้ายสองตัว ถึงแม้อาจจะไม่เกี่ยวกับวัตถุมงคลโดยตรง แต่เรื่องนี้ก็สร้างความศรัทธาให้กับครูอังคนายิ่งนัก

ทำไมพระกริ่งเนื้อนวโลหะถึงมีราคาสูง

พระกริ่งดี

หลังจากพิธีพุทธาภิเษกจ่าการบุญ ณ อุโบสถวัดนางพญาเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2566 ทางโรงงานได้นำพระกริ่งที่หล่อในฤกษ์และผ่านพิธีพุทธาภิเษกแล้วไปตกแต่งด้วยมือรวมถึงการอุดเม็ดกริ่งและตอกโค๊ด และเมื่อมีการประชาสัมพันธ์ให้มารับพระกริ่งรวมถึงเหรียญพระพุทธชินราช เหรียญสมเด็จนางพญาซุ้มเรือนแก้ว ทำให้มีผู้บูชาเพิ่มเติมจากสั่งจองและบางท่านเมื่อได้เห็นพระกริ่งของผู้ที่สั่งจองก็ถูกใจและร่วมบูชากันเรื่อยๆ

มีคำถามจากเด็กๆว่า “ครูครับ ทำไมพระกริ่งต้องให้บูชาราคาสูง” ในวันนี้เราจะมาดูข้อมูลร่วมกันอีกครั้ง

ตามความเชื่อเกี่ยวกับพระกริ่งซึ่งได้เขียนไว้แล้วที่ https://www.jakarnboon.com/%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%b8%e0%b8%8d-123-%e0%b8%9b%e0%b8%b5-%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad และรวมไปถึงการทำ vdo เกี่ยวกับพระกริ่งไว้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=7A9PYY1qgaA หัวข้อ พระกริ่งเด่นด้านไหน ดีอย่างไร พระกริ่งจ่าการบุญ

ส่วนผสมของนวโลหะ

นวโลหะ หรือโลหะ 9 อย่างที่ทางโรงงานได้จัดเตรียมก็จะมีส่วนผสมของ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ ทองคำ ๑ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้านํ้าเงิน” ว่า เป็นธาตุชนิดหนึ่งคือทังสเตน) สังกะสี ๑ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือตะกั่ว). บริสุทธิ์ (บอริสุด) นอกจากนี้ทางคณะทำงานยังได้รวบรวมมวลสารและมีผู้ปกครองมาร่วมมอบมวลสารด้วย

สามารถดูรายการมวลสารได้ที่ https://www.jakarnboon.com/jakarnboon1/2277

ราคาบูชาพระกริ่งนวโลหะที่ให้บูชาโดยทั่วไป

สำหรับพระกริ่งเนื้อนวโลหะเป็นที่นิยมสำหรับผู้สะสมเพราะเนื้อหามวลสารอย่างน้อยมีจำนวน 9 อย่าง ดังเช่นตัวอย่างที่นำมาเป็นรายการวัตถุมงคลประเภทพระกริ่งเนื้อนวโลหะที่ให้บูชาในเว็บ amuet24.com ซึ่งเป็นเว็ปไซต์ในเครือของ 7-11

พระกริ่งนวโลหะ

เมื่อดูจากราคาที่บูชาจะอยู่ที่ประมาณ 1,800 – 3,000 บาท ซึ่งอยู่ที่ความใหม่และความนิยมของผู้บูชา เพราะไมไ่ด้สร้างจากโลหะเพียงชนิดเดียว อีกทั้ง นว (นะ-วะ) แปลว่า 9 จึงมีนัยทางความก้าวหน้าในทางความเชื่อ จึงมีราคาบูชาค่อนข้างสูงเพื่อเทียบกับทองแดงหรือทองเหลือง

สำหรับพระกริ่งพ่อจ่าการบุญถือเป็นพระกริ่งรุ่นแรกของโรงเรียนจ่าการบุญ โดยวัตถุประสงค์ที่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนจ่าการบุญ ชมรมผู้ปกครอง ชมรมศิษย์เก่าจ่าการบุญ ก็บริสุทธิ์โดยต้องการนำเงินไปชำระอุปกรณ์วงโยทวาทิตที่คงค้างและจัดซื้อเพิ่มเติม ดังนั้นหากท่านบูชาพระกริ่งหรือเหรียญ นับเป็นการบูชาของที่ระลึก 123 ปี ของโรงเรียนและได้ร่วมบุญสร้างปัญญาบารมีโดยตรง

สอบถามหรือบูชาร่วมบุญ โทร : 055244490 ในวันและเวลาราชการ

พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลที่ระลึก 123 ปี จ่าการบุญ

พิธีพุทธาภิเษก ปลุกเสกอย่างเข้มขลัง
ท่านเจ้าคุณบุญมี วัดเจดีย์ยอดทอง
ท่านเจ้าคุณไพรินทร์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่ พิษณุโลก)
หลวงตาชุบ วัดนางพญา
หลวงพ่อสมปอง วัดวังตาบัว
หลวงพ่อแดง 5 ดี วัดบางทราย
หลวงพ่อชนะ วัดบึงพระ
หลวงพ่อฉลวย วัดเมมสุวรรณาราม
หลวงพ่อชาญ วัดถ้ำพระธรรมมาสน์
หลวงพ่อขวัญ วัดทับยายเชียง
โทรสอบถามเพิ่มเติม : 055244490

พิธีบวงสรวงเทหล่อพระกริ่ง

ดุเพิ่มเติมได้ที่

พิธีพุทธาภิเษก 9 กันยายน 2566

พิธีพุทธาภิเษกจ่าการบุญ พิธีดี ณ อุโบสถวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก

พิธีหลอมมวลสารและนำมวลสารเข้าร่วมพุทธาภิเษก

พิธีหลอมมวลสารและนำมวลสารเข้าร่วมพุทธาภิเษกหลายวาระ

พิธีหลอมมวลสาร 21 ธันวาคม 2565

นอกจากแผ่นยันต์แล้ว ยังมีชนวนมวลสารที่นำมาพลีเป็นชนวนในการสร้างวัตถุมงคล 123 ปี จ่าการบุญอื่นอีก เช่น

  1. แท่งโลหะที่ตัดมาจากองค์พ่อจ่าการบุญ พ่อจ่านกร้อง เมื่อครั้งสร้างอนุสาวรีย์ พ.ศ. 2542 บางคนเรียกว่าเส้นเลือดพ่อจ่าฯ ซึ่งรอดจากเหตุการณ์อัคคีภัย
  2. ชื้นส่วนพระพุทธรูปที่ค้นพบภายใต้ศาลาวัดสำคัญแห่งหนึ่ง จากศิลปะคาดว่าอายุร่วม 600 ปี
  3. ทองล้น ทองเหลือ ที่หล่อพระพุทธชินราชเท่าองค์จริง วันวิสาขบูชา ปี 2536
  4. ตะกรุดเนื้อเงิน ตำรับวัดสุนทรประดิษฐ์
  5. ข้าวเหลือหลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์ เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่
  6. เหรียญพ่อจ่าการบุญ เมื่อครั้งสร้างอนุสาวรีย์พ่อจ่าการบุญ – พ่อจ่านกร้อง ปี 2542 ผ่านพิธีใหญ่หลายพิธี ซึ่งรอดจากเหตุการณ์อัคคีภัย
  7. เหรียญทองแดงหลวงพ่อเดิม 1 เหรียญ (มีผู้ร่วมบุญนำมาพลี)
  8. เหรียญสมเด็จปริสุทโธ 1 เหรียญ (มีผู้ร่วมบุญนำมาพลี)
  9. ชนวนวัตถุมงคลจากวัดนางพญาหลายพิธีอายุมากกว่า 15 ปี
  10. แร่เหล็กน้ำพี้จากอุตรดิตถ์ เชื่อว่าล้างอาถรรพ์ได้

เข้าร่วมพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกที่วัดนางพญา ในพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลหลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน รุ่นสมเด็จนางพญา 101 ปี เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2566

  1. พระครูสุจิตธรรมวิมล เจ้าอาวาสวัดนางพญา
  2. พระครูโสภณจันทโพธิ เจ้าอาวาสวัดยาง
  3. พระสีพญาณิฏฐ์ สุมงฺคโล วัดยาง
  4. พระมหาชัชรินทร์ โชติวโร วัดนางพญา
  5. พระสมมาตร อตฺตสาโร วัดนางพญา

เข้าร่วมพิธีพระพุทธชินราช รุ่น ครบรอบสมโภช 666 ปี เมื่อวันที่ 22 – 24 มีนาคม 2566 โดยในพิธีมีพระเกจิคณาจารย์ และพระภาวนาจารย์จากทั่วประเทศ ร่วมเจริญพระพุทธมนต์ และนั่งปรกอธิฐานจิต รวมกันมากกว่า ๑๐๘ รูป อาทิ

  1. หลวงพ่อประจวบ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
  2. หลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่ สมทุรสงคราม
  3. หลวงพ่อจง วัดสังฆาราม สุโขทัย
  4. ครูบาอริยชาติ วัดแสงแก้วโพธิญาณ เชียงราย
  5. หลวงพ่อชำนาญ วัดชินวราราม ปทุมธานี
  6. หลวงพ่อโสธร วัดเขากะโหลก ประจวบคีรีขันธ์
  7. หลวงพ่อขวัญ วัดทับยายเชียง พิษณุโลก
  8. หลวงพ่อไพรินทร์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ พิษณุโลก
  9. หลวงพ่ออ่าง วัดใหญ่สว่างอารมร์ นนทบุรี
  10. หลวงพ่อทอง วัดบ้านไร่ นครราชสีมา
  11. หลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้ว นครสวรรค์
  12. หลวงพ่อเกาะ วัดท่าสมอ ชัยนาท
  13. หลวงพ่อพิมพ์ วัดพฤกษะวัน พิจิตร
  14. หลวงพ่อตี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี
  15. พระอาจารย์ประสูตร วัดในเตา ตรัง
  16. หลวงพ่อฉลวย วัดคลองเมม พิษณุโลก
  17. พระมหาแทน วัดดาวดึงษาราม กรุงเทพฯ
  18. พระอาจารย์สุริยันต์ วัดป่าวังน้ำเย็น มหาสารคราม
  19. พระอาจารย์ต้อม วัดท่าสะแบง ร้อยเอ็ด
  20. หลวงพ่อขวัญ วัดนามะตูม ชลบุรี
  21. หลวงพ่อบุญค้ำ วัดชัยเภรีย์ สุพรรณบุรี
  22. พระอาจารย์ดิเรก วัดหนองทราย สุพรรณบุรี
  23. หลวงพ่อแป๊ะ วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม เป็นต้น

เข้าร่วมพิธีหล่อพระพุทธชินราช ณ วัดเจดีย์ยอดทอง จ.พิษณุโลก เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 66

  1. หลวงปู่บุญมี (หลวงปู่ใหญ่) วัดเขาพนมทองคีรีเขต จ.พิษณุโลก
  2. หลวงพ่อดล วัดบึงกระดาน จ.พิษณุโลก
  3. หลวงปู่พร วัดเขตมงคล จ.พิจิตร
  4. หลวงปู่ทองสุข วัดใหม่ซำเตย จ.พิษณุโลก
  5. หลวงปู่ทองรัตน์ USA

การรวบรวมมวลสารเพื่อจัดสร้างวัตถุมงคลจ่าการบุญ

การรวบรวมแผ่นโลหะจารอักขระเลขยันต์จากเกจิคณาจารย์

ทางคณะทำงานได้รวบรวมแผ่นโลหะที่พระเถระ พระเกจิคณาจารย์หลอมรวมเป็นแท่งชนวนมวลสารตามฤกษ์ที่เหมาะสม หนุนเนื่องให้กับผู้ร่วมบุญบูชา

ชนวนมวลสารที่มีอายุและผ่านการปลุกเสกอย่างเข้มขลัง

ผู้มีจิตศรัทธาร่วมมอบมวลสาร

พิธีพุทธาภิเษกจ่าการบุญ พิธีดี ณ อุโบสถวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก

พระเจริญพระพุทธมนต์ เวลา 15.00 น.

พิธีพุทธาภิเษกจ่าการบุญ วันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2566 เวลา 15.54 น.

พิธีพุทธาภิเษกในช่วง 15.54 น. มีเกจิคณาจารย์ปรกปลุกเสกดังนี้

  • พระปัญญาภิมณฑ์มุนี (ท่านเจ้าคุณบุญมี ปญฺญาวุโธ) วัดเจดีย์ยอดทอง
  • พระรัตนโมลี (ท่านเจ้าคุณไพรินทร์ ทนฺตจิตฺโต) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เจ้าพิธี
  • พระสุธรรมมุนี (ท่านเจ้าคุณสมบูรณ์ ปญฺญาวุโธ) รักษาการวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
  • พระครูสุจิตธรรมวิมล เจ้าอาวาสวัดนางพญา
  • พระครูโกวิทพัฒนาทร (พระอุปัชฌาย์แดง) วัดบางทราย ฉายาหลวงพ่อแดง 5 ดี
  • พระครูอินทวรวิชัย หลวงพ่อชนะ นรินฺโท (อาคมแก้ว) วัดบึงพระ
  • หลวงพ่อฉลวย มนาโป (พระโรจนศักดิ์ เพชรทองทวีคูณ) วัดเมมสุวรรณาราม
  • พระครูพิพัฒน์นวกิจ(สมปอง) วัดราษฎร์เจริญ(วังตาบัว)
  • หลวงพ่อชาญ สุมังคโล วัดถ้ำพระธรรมาสาน์

พิธีบวงสรวงพ่อจ่าการบุญ พ่อจ่านกร้อง และเทพระกริ่งพ่อจ่าการบุญ

พิธีบวงสรวงพ่อจ่าการบุญ พ่อจ่านกร้อง วันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2566 ช่วง 09.00 น. – 09.54 น.

พิธีเทหล่อพระกริ่งพ่อจ่าการบุญ วันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2566 เวลา 09.54 น.

พระกริ่งพ่อจ่าการบุญ